แยกตามขนาด มี 2ขนาด คือ
1.1 เครื่องพิมพ์ดีดขนาดตั้งโต๊ะ
ที่มา: http://pongsatorn000.blogspot.com/2015/05/httpth.html
1.2 เครื่องพิมพ์ดีดขนาดกระเป๋าหิ้ว
ที่มา: http://www.masasom.com/product/157/พิมพ์ดีดกระเป๋าหิ้ว
แยกตามชนิด มี 2
ชนิด คือ
2.1 เครื่องพิมพ์ดีดชนิดธรรมดา หมายถึง
เครื่องพิมพ์ดีดที่ใช้พิมพ์สัมผัสด้วยมือ ซึ่งต้องออกแรง ในการพิมพ์มาก
ไม่มีกลไกที่พิเศษอะไรที่จะช่วยอ่อนแรง นิยมใช้ในสำนักงานทั่วไป ราคาไม่แพง
2.2 เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่ต้องใช้ไฟฟ้า มีกลไกอัตโนมัติมากกว่าเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา
ประหยัดแรงกว่า เพราะเพียงสัมผัสเบาๆเครื่องก็จะทำงานสามารถพิมพ์สำเนาจดหมายได้ดีกว่าให้ตัวพิมพ์ที่สวยงามบางรุ่นมีคำสั่งอัตโนมัติให้
ทำงานได้สะดวกรวดเร็ว มี หัวพิมพ์กลมขนาดลูกกอล์ฟ มีแป้นแบบที่มีอักษร 2 ภาษา คือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ที่มา: http://auction2hand.uamulet.com/AuctionGoodsDetail.aspx?qid=144456
แยกตามคุณสมบัติพิเศษของเครื่อง
3.1 เครื่องพิมพ์ดีดอัตโนมัติ ( Automatic
Typewriter ) เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่พิมพ์ข้อมูลจากเทปแบบ Perforated
roll หรือแบบ Magnatic
3.2 เครื่องพิมพ์ดีดแบบเฟลกโซโรท์เตอร์ (Flexowriter)
สามารถพิมพ์ข้อมูลลงในเทปและพิมพ์ได้ด้วย
ที่มา: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Flexowriter.JPG
3.3 เครื่องพิมพ์ดีดแบบวาริไทป์เปอร์ (Vari -
Typer หรือ Compeaing machice) เป็นเครื่องพิมพ์ดีดที่สามารถ
ใช้คำสั่งให้ตัวอักษรมีลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวอักษรเข็ม อักษรใหญ่ขึ้น เป็นต้น
ที่มา: https://twitter.com/mwichary/status/900795425673924608
3.4 เครื่องพิมพ์ดีดแบบปรับช่องไฟได้ (Proportional
Spacing Typewriter) โดยสามารถปรับให้ช่องไฟเท่ากัน เพราะตัวอักษรมีขนาดช่องไฟต่างกัน
เช่น W กับตัว I
3.5 เครื่องพิมพ์ดีดแบบจัสโตโรท์เตอร์ (Justowriter)
เป็นเครื่องที่สามารถปรับกั้นระยะหน้าและหลังได้
โดยเทปจะบันทึกข้อมูลในการพิมพ์ครั้งแรกซึ่งเครื่องทำงานครั้งต่อไปจากข้อมูลจากเทปโดยอัตโนมัติ
ที่มา: https://twitter.com/mwichary/status/900795425673924608
3.6 เครื่องพิมพ์ดีดอีเล็คทรอนิคส์
ได้รับการพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ
โดยรวมคุณสมบัติพิเศษซึ่งมีความสามารถสูงจนเกือบเท่ากับเครื่องประมวลผลคำและสามารถใช้ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้
(บุญธรรม เอนไชย, 2554) “ตอนนี้ที่โรงเรียนไม่ใช้พิมพ์ดีดแล้ว เมื่อก่อนมีนักเรียนเป็นร้อย ผมมีพิมพ์ดีดอยู่ 20 กว่าเครื่อง นักเรียนก็ต้องมารอคิวกันเรียน ทีนี้พอเวลาผ่านไป มันก็เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ เพราะมีคอมพิวเตอร์เข้ามา ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดก็หายไปนะ จะกลายเป็นพนักงานบันทึกข้อมูลมาแทน ในปัจจุบันรัฐเน้นให้คนใช้คอมพิวเตอร์ แต่ไม่เน้นเรื่องของการหัดพิมพ์สัมผัส บางคนพิมพ์ไม่เป็นเลย มีแต่จิ้มเอา ทีนี้เรื่องของการหัดพิมพ์โดยให้โรงเรียนสอนก็วนมาอีก แต่โรงเรียนที่สอนพิมพ์นี่แทบจะไม่เหลือแล้วนะในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่กี่ที่”
เครื่องพิมพ์ดีดในปัจจุบัน
เครื่องพิมพ์ดีดในปัจจุบันที่ยังคงมีใช้อยู่
ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า
(ที่มา: http://www.pornthaveeoa.com/product-category/131653/เครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า-Olympia.html)
“ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา
ครั้นจะหามือหนึ่งคงลำบาก ส่วนเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้านั้นยังพอมีสินค้ามือหนึ่งให้เลือกซื้อบ้าง
หลายๆ หน่วยงานในประเทศไทยก็ยังนิยมใช้เครื่องพิมพ์ดีด
เพราะตัวหนังสือเหล่านั้นเป็นอัตลักษณ์ของเอกสารที่ยากต่อการปลอมแปลง เป็นลักษณะที่พิมพ์เสร็จแล้วได้เลย
ไม่ต้องรอ พรินต์แบบคอมพิวเตอร์” (ที่มา: http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000053562)
(บุญธรรม เอนไชย, 2554) “ตอนนี้ที่โรงเรียนไม่ใช้พิมพ์ดีดแล้ว เมื่อก่อนมีนักเรียนเป็นร้อย ผมมีพิมพ์ดีดอยู่ 20 กว่าเครื่อง นักเรียนก็ต้องมารอคิวกันเรียน ทีนี้พอเวลาผ่านไป มันก็เริ่มน้อยลงเรื่อยๆ เพราะมีคอมพิวเตอร์เข้ามา ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีดก็หายไปนะ จะกลายเป็นพนักงานบันทึกข้อมูลมาแทน ในปัจจุบันรัฐเน้นให้คนใช้คอมพิวเตอร์ แต่ไม่เน้นเรื่องของการหัดพิมพ์สัมผัส บางคนพิมพ์ไม่เป็นเลย มีแต่จิ้มเอา ทีนี้เรื่องของการหัดพิมพ์โดยให้โรงเรียนสอนก็วนมาอีก แต่โรงเรียนที่สอนพิมพ์นี่แทบจะไม่เหลือแล้วนะในกรุงเทพฯ มีอยู่ไม่กี่ที่”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น